รายละเอียดคอร์ส


สอนสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในส่วนของการสร้างสรรค์เนื้อหาการเรียนการสอนและช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายผ่านปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ

การใช้เว็บแอปพลิเคชันในการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในส่วนของการสร้างสรรค์เนื้อหาการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายผ่านปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งในส่วนของทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะช่วยให้สนับสนุนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
- กระบวนการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
- หลักการออกแบบ UX&UI สำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
- การฝึกพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยม

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ประเภทของคอร์ส
(E) คอร์สนี้เป็นคอร์สเลือก (Elective Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 40% ของเกรด และ 2. Final Assignment คิดเป็น 60% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อาจารย์ ผศ.ดร.ญาดา อรรถอนันต์
ปัจจุบันอาจารย์ญาดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้าน นวัตกรรมทางการเรียนรู้และเทคโนโลยี มัลติมีเดียและเทคโนโลยีสารสนเทศ เกมการศึกษาและสถานการณ์จำลอง สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบปฎิสัมพันธ์ การเรียนรู้แบบภควันตภาพ และดิจิทัลและโมบายเลิร์นนิ่ง

อาจารย์ญาดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปริญญาโท ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และปริญญาเอก นวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ ผศ. ดร.เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์
ปัจจุบันอาจารย์เสมอกาญจน์ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา การเรียนการสอนแบบผสมผสานและการเรียนแบบออนไลน์

อาจารย์เสมอกาญจน์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาษาไทยและเทคโนโลยีการศึกษา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


ผศ.ดร.ญาดา อรรถอนันต์
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้าน นวัตกรรมทางการเรียนรู้และเทคโนโลยี มัลติมีเดียและเทคโนโลยีสารสนเทศ เกมการศึกษาและสถานการณ์จำลอง สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบปฎิสัมพันธ์ การเรียนรู้แบบภควันตภาพ และดิจิทัลและโมบายเลิร์นนิ่ง
  • ปริญญาเอก นวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปริญญาโท ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปริญญาตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  • ผศ. ดร.เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา การเรียนการสอนแบบผสมผสานและการเรียนแบบออนไลน์
  • ปริญญาเอก ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท ด้านการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี ด้านภาษาไทยและเทคโนโลยีการศึกษา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้
  • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าแก่การยอมรับและความเข้าใจระหว่างผู้สอนผู้เรียนผ่านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางด้านปัญญาและจิตวิญญาณ
  • tuxsa-Web-Application-Development
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Web Application Development การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน