รายละเอียดคอร์ส



เข้าใจหลักการพื้นฐานของการออกแบบการเรียน (Principles of Learning Design) เรียนรู้วิธีออกแบบบทเรียนที่ดึงดูดใจ กระตุ้นการมีส่วนร่วม และส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น

เข้าใจหลักการพื้นฐานของการออกแบบการเรียน (Principles of Learning Design) เรียนรู้วิธีออกแบบบทเรียนที่ดึงดูดใจ กระตุ้นการมีส่วนร่วม และส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น

การจัดการสอนที่เป็นการสื่อสารทางเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ในฐานะครูผู้สอนหรือวิทยากรอาจจะต้องปรับเปลี่ยนเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้บรรยายหรือผู้สั่งสอนเป็นกระบวนกรหรือผู้อำนวยการเรียนรู้ที่ออกแบบและจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนมีส่วนร่วมให้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง วิชานี้ช่วยให้ผู้สอน ผู้ที่ทำงานด้านการศึกษาและพัฒนามนุษย์ ได้มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบและการจัดกระบวนเรียนรู้ (Principles of Learning Design) เข้าใจบทบาทและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นกระบวนกรตลอดจนเห็นแนวทางในการพัฒนาตนเองในการทำงานด้านการสร้างการเรียนรู้ให้ผู้อื่นได้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่งอกงามต่อไป

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้
- คุณสมบัติ “กระบวนกร”
- บทบาทหน้าที่ของกระบวนกร
- ความไว้วางใจและพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้
- ทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้
- การออกแบบกระบวนการเรียนรู้
- ความมั่นคงภายในสำหรับกระบวนกร
- การจัดการกับสถานการณ์ท้าทายในกระบวนการเรียนรู้

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 20% ของเกรด และ 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 80% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อาจารย์ ผศ.ดร.ลินดา เยห์ 
ปัจจุบันอาจารย์ลินดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ การปรับหลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ความฉลาดและความสามารถทางสติปัญญา การออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนเป็นทีม การพัฒนาวิชาชีพครู

อาจารย์ลินดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท ด้าน Special Education จาก The University of Sydney, Australia ปริญญาเอก ด้าน Education จาก The University of New South Wales, Australia

อาจารย์ ผศ.ดร.ปวีณา แช่มช้อย
ปัจจุบันอาจารย์ปวีณาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีความเชี่ยวชาญทางด้านการละครประยุกต์ การละครในการศึกษา การละครเพื่อการศึกษา ประสบการณ์กับการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างกาย-จิต สุขภาวะ วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ พิธีกรรมและประเพณี การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา

อาจารย์ปวีณาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านสื่อสารการแสดง (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท ด้าน Applied Drama with Merit จาก University of Exeter, UK ปริญญาเอก ด้าน Drama จาก University of Exeter, UK

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


ผศ.ดร.ลินดา เยห์ (หลิน)
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ การปรับหลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ความฉลาดและความสามารถทางสติปัญญา การออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนเป็นทีม การพัฒนาวิชาชีพครู
  • ปริญญาเอก ด้าน Education The University of New South Wales, Australia
  • ปริญญาโท ด้าน Special Education The University of Sydney, Australia
  • ปริญญาตรี ด้านภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • ผศ.ดร.ปวีณา แช่มช้อย
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านการละครประยุกต์ การละครในการศึกษา การละครเพื่อการศึกษา ประสบการณ์กับการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างกาย-จิต สุขภาวะ วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ พิธีกรรมและประเพณี การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา
  • ปริญญาเอก ด้าน Drama University of Exeter, UK
  • ปริญญาโท ด้าน Applied Drama with Merit University of Exeter, UK
  • ปริญญาตรี ด้านสื่อสารการแสดง (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้
  • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าแก่การยอมรับและความเข้าใจระหว่างผู้สอนผู้เรียนผ่านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางด้านปัญญาและจิตวิญญาณ
  • tuxsa-Principles-of-Learning-Design-and-Facilitation
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Principles of Learning Design and Facilitation หลักการพื้นฐานในการออกแบบและการอำนวยกระบวนการเรียนรู้