รายละเอียดคอร์ส


รู้จักประเภทของความต้องการทางการศึกษาพิเศษ รู้วิธีจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษของผู้เรียนประเภทต่าง ๆ และเสนอการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้

การจัดการศึกษาให้กับผู้ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน วิชานี้จะแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักประเภทของความต้องการทางการศึกษาพิเศษ ทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด ของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รวมไปถึงการปรับการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษของผู้เรียนประเภทต่าง ๆ และเสนอการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- แนวคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียม ความเสมอภาค อำนาจ และอภิสิทธิ์
- แนวคิดเกี่ยวกับการทำให้เป็นปกติ
- มุมมองเกี่ยวกับความพิการ
- รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษ การเรียนรวม การเรียนร่วม และการเรียนแยก
- แผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล
- ประเภทของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา
- การปรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ประเภทของคอร์ส
(E) คอร์สนี้เป็นคอร์สเลือก (Elective Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 20% ของเกรด และ 2. Final Exam คิดเป็น 80% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อาจารย์ ผศ.ดร.ธิดา ทับพันธุ์
ปัจจุบันอาจารย์ธิดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเรียนร่วมของเด็กพิเศษในสังคมและระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเรียนช้า (การอ่านและเลข) และความหมาย ความเข้าใจ และความเชื่อเกี่ยวกับความพิการ

อาจารย์ธิดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการศึกษาปฐมวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง La Cross ประเทศสหรัฐอเมริกาและปริญญาเอก Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา

อาจารย์ ผศ.ดร.ลินดา เยห์
ปัจจุบันอาจารย์ลินดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ การปรับหลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ความฉลาดและความสามารถทางสติปัญญา การออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนเป็นทีม การพัฒนาวิชาชีพครู

อาจารย์ลินดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท ด้าน Special Education จาก The University of Sydney, Australia ปริญญาเอก ด้าน Education จาก The University of New South Wales, Australia

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


ผศ.ดร. ธิดา ทับพันธุ์
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความสนใจพิเศษทางด้านการเรียนร่วมของเด็กพิเศษในสังคมและระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเรียนช้า (การอ่านและเลข) และความหมาย ความเข้าใจ และความเชื่อเกี่ยวกับความพิการ
  • ปริญญาเอก Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง La Cross ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี ด้านการศึกษาปฐมวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ผศ.ดร.ลินดา เยห์ (หลิน)
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ การปรับหลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ความฉลาดและความสามารถทางสติปัญญา การออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนเป็นทีม การพัฒนาวิชาชีพครู
  • ปริญญาเอก ด้าน Education The University of New South Wales, Australia
  • ปริญญาโท ด้าน Special Education The University of Sydney, Australia
  • ปริญญาตรี ด้านภาษาอังกฤษ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้
  • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าแก่การยอมรับและความเข้าใจระหว่างผู้สอนผู้เรียนผ่านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางด้านปัญญาและจิตวิญญาณ
  • tuxsa-Pathways-to-Inclusive-Education
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Pathways to Inclusive Education เส้นทางสู่การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม