รายละเอียดคอร์ส



Learning Innovation ค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนทักษะ พัฒนาความรู้ และบรรลุเป้าหมายของคุณด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้

Learning Innovation, Technology, and Society นวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยี และสังคม คอร์สเรียนที่จะพลิกโฉมการสอน ด้วยนวัตกรรมการเรียนที่ทันสมัย! ผู้เรียนสามารถนำความรู้ในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปช่วยจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์กับผู้เรียนในยุคดิจิทัลมากขึ้น

การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่จำกัดอยู่แค่การนั่งเรียนในห้องเรียน อาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ รวมไปถึงความสามารถในการปรับตัว บทบาทของสื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กับผู้เรียนในยุคดิจิทัลมากขึ้น

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- นิยามนวัตกรรมการเรียนรู้
- บทบาทนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้
- แนวคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้
- พื้นที่การเรียนรู้
- หลักในการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรม
- ตัวอย่างการพัฒนาและการใช้งานสื่อจำแนกตามรูปแบบสื่อการเรียนรู้

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 20% ของเกรด 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 40% ของเกรด และ 3. Final Assignment คิดเป็น 40% โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อาจารย์ ผศ. ดร.พุทธชาด อังณะกูร
ปัจจุบันอาจารย์พุทธชาดดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้าน Instructional Design Learning Technology และ Knowledge Sharing

อาจารย์พุทธชาดจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปริญญาโท Business Studies University of North Texas ประเทศสหรัฐอเมริกาและปริญญาเอก Applied Technology and Performance Improvement University of North Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา

อาจารย์ ผศ. ดร.เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์
ปัจจุบันอาจารย์เสมอกาญจน์ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา การเรียนการสอนแบบผสมผสานและการเรียนแบบออนไลน์

อาจารย์เสมอกาญจน์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาษาไทยและเทคโนโลยีการศึกษา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ ผศ. ดร.ศรัณวิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
ปัจจุบันอาจารย์ศรัณวิชญ์ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านการวางผังพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของคนและเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อใช้ในการวางแผนและการออกแบบแผนผังเชิงกายภาพ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มคนและชุมชน

อาจารย์ศรัณวิชญ์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท Policy Sciences) MEXT scholarship Ritsumeikan University ประเทศญี่ปุ่น และปริญญาเอก Architecture and Planning University of Sassari ประเทศอิตาลี

อาจารย์ ผศ. ดร.ชลิดา จูงพันธ์
ปัจจุบันอาจารย์ชลิดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตรศึกษาและการสอนธรรมชาติวิทยา

อาจารย์ชลิดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีชีววิทยา เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปริญญาโท ชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และปริญญาเอก Architecture and Planning University of Sassari ประเทศอิตาลี

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


ผศ. ดร.พุทธชาด อังณะกูร
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้าน Instructional Design Learning Technology และ Knowledge Sharing
  • ปริญญาเอก Applied Technology and Performance Improvement University of North Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท Business Studies University of North Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี ด้านการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

  • ผศ. ดร.เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา การเรียนการสอนแบบผสมผสานและการเรียนแบบออนไลน์
  • ปริญญาเอก ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท ด้านการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี ด้านภาษาไทยและเทคโนโลยีการศึกษา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ผศ. ดร.ศรัณวิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านการวางผังพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของคนและเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อใช้ในการวางแผนและการออกแบบแผนผังเชิงกายภาพ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มคนและชุมชน
  • ปริญญาเอก Architecture and Planning University of Sassari ประเทศอิตาลี
  • ปริญญาโท Policy Sciences) MEXT scholarship Ritsumeikan University ประเทศญี่ปุ่น
  • ปริญญาตรี ด้านการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ผศ. ดร.ชลิดา จูงพันธ์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตรศึกษาและการสอนธรรมชาติวิทยา
  • ปริญญาเอก บรรพชีวินวิทยา นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาโท ชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาตรี ชีววิทยา เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการเรียนรู้
  • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าแก่การยอมรับและความเข้าใจระหว่างผู้สอนผู้เรียนผ่านทฤษฎีและการปฏิบัติที่เชื่อมร้อยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางด้านปัญญาและจิตวิญญาณ
  • tuxsa-Learning-Innovation-Technology-and-Society
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Learning Innovation, Technology, and Society นวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยี และสังคม