รายละเอียดคอร์ส
ไขความหมาย ทำความเข้าใจ บทบาท และพลังของ Social Movement แรงขับเคลื่อนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม
Leadership, Social Movement and Change ภาวะการนำ การขับเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงสังคม - สามารถนำองค์ความรู้ในเรื่องภาวะการนำ องค์ประกอบ เครื่องมือ วิธีการไปใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม
การขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม นอกจากจะต้องมีภาวะการนำแล้วยังจำเป็นต้องรู้องค์ประกอบ เครื่องมือ วิธีการ รวมทั้งการเข้าใจถึงจุดอ่อน จุดแข็งและข้อจำกัดบางอย่างเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจจนกระทั่งนำองค์ความรู้ไปสร้างและพัฒนาตนเองจนนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- ความหมายของภาวะการนำ
- กระบวนทัศน์การนำในแต่ละรูปแบบ
- ระดับ รูปแบบ และกระบวนการของภาวะการนำ
- คุณลักษณะของการเคลื่อนไหวทางสังคม
- แนวคิดและทฤษฎีของการเคลื่อนไหวทางสังคม
- การเคลื่อนไหวทางสังคมในบริบทการเรียนรู้และการศึกษา
- การเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
- ตัวอย่างการขับเคลื่อนสังคมผ่านมิติการศึกษาและการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้
ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane
การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 60% ของเกรด และ 2. Final Assignment คิดเป็น 40% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้
A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99
ประวัติวิทยากร
ผศ. ดร.อดิศร จันทรสุข
ปัจจุบันอาจารย์อดิศรดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีและอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์วาทกรรม การวิจัยผ่านเรื่องเล่า การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ ภาวะการนำ การอุดมศึกษา การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
อาจารย์อดิศรจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวารสารศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท ด้านจิตวิทยาการปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและปริญญาเอก Education (ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมของมหาวิทยาลัยประจำปี 2556) จาก University of Otago ประเทศนิวซีแลนด์
รศ. ดร.ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล
ปัจจุบันอาจารย์ฐิติกาญจน์ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านประชากรศาสตร์ การจัดระบบการศึกษาเพื่อรองรับสังคมสูงวัย การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัย การเรียนรู้ตลอดชีวิต
อาจารย์ฐิติกาญจน์จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการประถมศึกษา (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโท ด้านสังคมวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และปริญญาเอก ด้านประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.กิตติ คงตุก
ปัจจุบันอาจารย์กิตติดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีศึกษา มานุษยวิทยาการดนตรี ดนตรีวิทยา การศึกษาดนตรีในมุมมองสัญวิทยา การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา
อาจารย์กิตติจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านดนตรีศึกษา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท ด้านวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลและปริญญาเอก ด้านดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล