รายละเอียดคอร์ส
เรียนรู้วิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นได้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับรูปภาพเหล่านั้นโดยวิธีการวิเคราะห์และจัดกลุ่มรูปแบบต่างๆซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิต
ในฐานะมนุษย์เราสามารถมองเห็นและเข้าใจภาพที่ต้องการจะสื่อสารและนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่มีความสามารถในการมองเห็นและเข้าใจรูปภาพได้เหมือนมนุษย์ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นได้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับรูปภาพเหล่านั้นโดยวิธีการวิเคราะห์และจัดกลุ่มรูปแบบต่างๆซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ ร้านค้าอัตโนมัติ รถยนต์ที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติซึ่งจะได้เรียนรู้พื้นฐานในคอร์นี้
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- Introduction to Image Acquisition
- Fundamentals of Image Processing
- Morphological Technique
- Image Segmentation
- Feature Extraction
- Image Pattern Classification
- Computer Vision Application
ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้
ภาษาที่ใช้
- ภาษาอังกฤษ
ประเภทของคอร์ส
(E) คอร์สนี้เป็นคอร์สเลือก (Elective Course) ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Artificial Intelligence and Internet of Things (International Program) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane
การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 60% ของเกรด และ 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 40% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้
A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99
ประวัติวิทยากร
อาจารย์ รศ.ดร.ณัฐสุดา เกาทัณฑ์ทอง
ปัจจุบันอาจารย์ณัฐสุดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการหลากหลายด้านตั้งแต่ Data Mining Business Intelligence Computer Vision Computational Geometry และ Image Processing
อาจารย์ณัฐสุดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้าน Information Technology, SIIT, Thammasart University ปริญญาโท ด้าน Information Sciences, Graduate School of Information Sciences, Tohoku University, Japan และปริญญาเอก ด้าน Information Sciences, Graduate School of Information Sciences, Tohoku University, Japan