รายละเอียดคอร์ส


สอนการประยุกต์ใช้ Python และภาษาที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา AI ช่วยให้เราสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงการพัฒนาระบบที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเข้าใจและตอบสนองต่อข้อมูลได้ กลายเป็นเรื่องที่จับต้องได้มากขึ้น การประยุกต์ใช้ Python และภาษาที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา AI จะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงการพัฒนาระบบที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- First Order Logic
- Prolog
- Recurrent Neural Networks (RNNs)
- Long Short-Term Memory (LSTM)
- Transformer Model
- AI Image Processing
- Natural Language Processing

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ภาษาที่ใช้
- ภาษาอังกฤษ

ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Artificial Intelligence and Internet of Things (International Program) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 56% ของเกรด และ 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 44% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อาจารย์ รศ.ดร. นิรัตยา คำเสมานันทน์
ปัจจุบันอาจารย์นิรัตยาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการหลากหลายด้าน ตั้งแต่ Algebraic topology, Cryptography, Intelligent User Interface (IUI) รวมไปถึง Machine learning

อาจารย์นิรัตยาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Mathematics (cum laude), Cornell University, USA ปริญญาโท ด้าน Mathematics, University of California, Los Angeles (UCLA), USA และ ปริญญาเอก ด้าน Mathematics, University of California, Los Angeles (UCLA), USA

อาจารย์ รศ.ดร.ชลวิช นัทธี
ปัจจุบันอาจารย์ชลวิชดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้านตั้งแต่ Artificial intelligence, Machine learning, Knowledge discovery and data mining, Artificial intelligence applications in distance learning และ Pattern recognition

อาจารย์ชลวิชจบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Computer Science,Tokyo Institute of Technology, Japan และปริญญาเอก Computer Science,Tokyo Institute of Technology, Japan

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


รศ.ดร.นิรัตยา คำเสมานันทน์
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญในด้าน Algebraic topology, Cryptography, Intelligent User Interface (IUI) และ Machine learning
  • ปริญญาเอก Mathematics, University of California, Los Angeles (UCLA), USA
  • ปริญญาโท Mathematics, University of California, Los Angeles (UCLA), USA
  • ปริญญาตรี Mathematics (cum laude), Cornell University, USA

  • รศ.ดร.ชลวิช นัทธี
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความเชี่ยวชาญในด้าน Artificial intelligence, Machine learning, Knowledge discovery and data mining, Artificial intelligence applications in distance learning และ Pattern recognition.
  • ปริญญาเอก Computer Science,Tokyo Institute of Technology, Japan
  • ปริญญาโท Computer Science,Tokyo Institute of Technology, Japan
  • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • Sirindhorn International Institute of Technology
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • Asia's leading institute of technology
  • Established in cooperation with Thammasat University, the Japan Federation of Economic Organizations (KEIDANREN) and the Federation of Thai Industries (FTI)
  • SIIT’s objectives are to produce highly qualified engineers and technologists.
  • tuxsa-AI-Applications-with-Python-and-AI-Languages
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    AI Applications with Python and AI Languages แอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ด้วยไพทอนและภาษาโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์