รายละเอียดคอร์ส
สอนบัญชี-ภาษีของโครงการคนละครึ่ง เนื้อหาครอบคลุมทั้งทางด้านบัญชีและภาษีที่ผู้ประกอบการขายสินค้าต้องทราบเพื่อนำไปใช้ได้จริง
ภาษีร้านค้า โครงการคนละครึ่ง กับหลายๆ เรื่องที่ยังเข้าใจผิด
คอร์สนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้ประกอบการที่ “ขายสินค้าผ่านโครงการคนละครึ่ง”
- นักบัญชีที่ต้องการ “ทำบัญชี-ยื่นภาษี” ให้ถูกต้อง
- ผู้สนใจทั่วไป “ที่กำลังตัดสินใจขายสินค้าออนไลน์ หรือ รับทำบัญชีให้กิจการขายสินค้าออนไลน์”
- สำนักงานบัญชี
“ผู้ประกอบการ” ที่ขายสินค้าผ่าน “โครงการคนละครึ่ง” พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สอนตั้งแต่พื้นฐาน โดยเน้นข้อควรระวัง โอกาสที่จะถูกประเมินภาษีเพิ่มจากกรมสรรพากร เนื้อหาครอบคลุมทั้งทางด้านบัญชีและภาษีที่ผู้ประกอบการขายสินค้าต้องทราบเพื่อนำไปใช้ได้จริง โดยรวบรวมปัญหาบัญชีและภาษี ที่ผู้ประกอบการต้องเจอ
สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
ส่วนที่ 1 : เรื่องทั่วไปที่ “ร้านค้าครึ่งละครึ่ง” ควรรู้
- e – Payment กับร้านค้าคนละครึ่ง
- e – Tax Invoice กับร้านค้าคนละครึ่ง
- e – Withholding Tax กับร้านค้าคนละครึ่ง
- สรรพากรเริ่มตรวจเงินเข้าบัญชีแล้ว กระทบกับร้านค้าคนละครึ่งอย่างไร
- สรรพากรมีแนวทางการตรวจสอบภาษีร้านค้าคนละครึ่งอย่างไร
- สรรพากรจะรู้ได้ยังไง ว่ามีการขายสินค้าออนไลน์
ส่วนที่ 2 : ขายสินค้าออนไลน์ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? (คนละครึ่ง, Shopee, Lazada, Lineman, Grabfood)
ส่วนที่ 3 : เมื่อไหร่ต้องจดทะเบียนเป็น “นิติบุคคล”
ส่วนที่ 4 : เตรียมข้อมูล “จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล” (ห้างหุ้นส่วน / บริษัท)
- ควรเลือก “ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท” ดีกว่ากัน
- ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ดี
- ถ้าลงทุนด้วยกันกับเพื่อน ควรจดเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
ส่วนที่ 5 : เจาะลึกประเด็น “ภาษีที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าคนละครึ่ง”
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้านค้า)
- ประเภทรายได้ของร้านค้า
- การคำนวณภาษี “ร้านค้าคนละครึ่ง”
- อัตราภาษีเงินได้ร้านค้า
- ถ้าไม่เคยยื่นเสียภาษีมาก่อน แต่อยากเริ่มเสียภาษีให้ถูกต้องจะถูกตรวจสอบรายได้ย้อนหลังหรือไม่
- ถ้า “ชื่อผู้เข้าร่วมร้านค้าคนละครึ่ง กับ ชื่อคนยื่นเสียภาษี เป็นคนละคนกันทำอย่างไรดี
- ถ้า “ไม่เคยยื่นเสียภาษีมาก่อน” ตอนนี้เข้าโครงการคนละครึ่งไปแล้ว จะโดยตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือไม่
- ถ้า “เสียภาษีเหมา” ต้องเก็บบิลหรือไม่
- เสียภาษีเหมาปี 2563 ไปแล้ว แต่ไม่ได้เอารายได้ “โครงการคนละครึ่ง” ไปรวม ต้องทำอย่างไร
- ถ้า “ร้านค้ามีรายได้หลายทาง” เช่น โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน โครงการประชารัฐ Lineman Foodpanda Grabfood Wongnai เป็นต้น ยื่นภาษีอย่างไรให้ประหยัดที่สุด
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- จด VAT เมื่อไหร่ดี
- สินค้าอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- หน้าที่ของ “แม่ค้า” หลังจด VAT แล้วต้องทำอะไรบ้าง
- ข้อควรระวังของ VAT
- ค่าปรับ VAT
- ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร
- ถ้าเช่าโกดังเก็บสินค้า ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ไม่รู้ จะถูกตรวจสอบย้อนหลังหรือไม่
- ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทแล้ว จะเสียค่าปรับอย่างไร
- เครื่องบันทึกการเก็บเงินต้องขออนุญาตกรมสรรพากรหรือไม่
ส่วนที่ 6 : เมื่อต้อง “เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” ควรตั้ง “ราคาสินค้า” เท่าไหร่ดี
- Vat ใน คืออะไร
- Vat นอก คืออะไร
ส่วนที่ 7 : เมื่อมีรายได้ต้อง “เปิดบิลขาย” อย่างไร
- กรณีไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ขายสินค้าออนไลน์ต้องเปิดใบกำกับภาษีเมื่อไหร่
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ คืออะไร พร้อมประเด็นความผิด
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คืออะไร
- ลูกค้าไม่ยอมให้ข้อมูล ต้องเปิดใบกำกับภาษีอย่างไร
- บิลขายเยอะมาก เปิดใบกำกับภาษีวันละใบได้หรือไม่
- ลูกค้าไม่ต้องการใบกำกับภาษีต้องทำอย่างไร
- ข้อควรระวัง “เปิดบิลขายไม่ครบ”
- ไม่ต้องเปิด “ใบกำกับภาษีขาย” ได้หรือไม่
- ถ้าลูกค้า “โอนเงินมาก่อน” รับสินค้าทีหลังต้องทำอย่างไร
- การจัดทำ “รายงานภาษีขาย” (ใบกำกับภาษีอย่างย่อ)
ส่วนที่ 8 : กรณี “รับโอนเงินผ่าน E-Wallet หรือ โอนเงินเข้าธนาคาร”
ส่วนที่ 9 : เมื่อได้รับ “จดหมาย” จากกรมสรรพากร
- เมื่อสรรพากรขอเอกสาร ต้องทำอย่างไร
- เมื่อสรรพากรขอ Statements ย้อนหลังจะชี้แจงสรรพากรอย่างไร
ส่วนที่ 10 : ระบบเอกสารด้านบัญชี
- ต้องวางระบบบัญชีหรือไม่
- การวางระบบเอกสารที่สำคัญ เพื่อเป็นหลักฐานเมื่อถูกสรรพากรเรียกพบ
- ต้องส่งเอกสารอะไรบ้างให้สำนักงานบัญชี
- การเรียกรายงานสรุปยอดขาย ที่นักบัญชีต้องการ