รายละเอียดคอร์ส
ก้าวสู่ยุคใหม่ของงานออกแบบ และควบคุมไฟฟ้า ในรูปแบบสามมิติ ด้วยโปรแกรม SolidWorks Electrical 3D โดย สุรเชษฐ์ มังษะชาติ
สวัสดีครับ สำหรับบทเรียน เขียนแบบไฟฟ้าด้วย SolidWorks Electrical 3D ผู้เรียนต้องผ่านบทเรียนหลักสูตร 12 ชั่วโมง เรื่อง เขียนแบบไฟฟ้าด้วย SolidWorks Electrical schematic เสียก่อน ผู้เรียนจึงเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างการเขียนแบบ Electrical schematic diagram และ อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้สร้าง Electrical 3D Component ในบทเรียน SolidWorks Electrical 3D ครับ
ผมต้องขอบอกเลยว่า เรื่องการเขียนแบบไฟฟ้าในรูปแบบของสามมิตินั้น ค่อนข้างที่จะใหม่มากในบ้านเรา
และนั้นแหละครับ คือความได้เปรียบในเรื่องของการทำงานให้มีความแตกต่าง
- ทั้งเรื่องของกระบวนการทำงาน และการนำเสนองานที่ชัดเจนในรูปแบบสามมิติ
- เวลาที่ลดลงในการออกแบบ
- ความผิดพลาดในการประเมิณมูลค่าของงานในโครงการ
ซึ่งทั้งสามข้อที่ผมกล่าวมาในขั้นต้นนั้น ในงานอุตสาหกรรมคือ การใช้งาน Software ในการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดเวลางาน และความซับซ้อนของการออกแบบงานระบบไฟฟ้าครับ
ใคร..? ที่ควรจะเรียนคอสนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง
คอร์สนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้ที่มีพื้นฐานการใช้งาน SolidWorks Basic มาบ้างแล้ว
- ผู้ที่ใช้ SolidWorks อยู่แล้วและทำงานด้าน Automation Design
- นิสิต นักศึกษาภาควิชาเครื่องกลไฟฟ้า และ Mechatronic
- ผู้ประกอบการที่ทำงานด้านการสร้าง และควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้เมื่อเรียนจบคอร์สนี้
1. การจัดการเพื่อเตรียมพื้นที่ ก่อนเริ่มทำการวางระบบไฟฟ้าในโครงการ
2. วิธีการนำตู้ไฟฟ้าแบบ 3มิติเข้ามาร่วมใช้งานในโครงการ
3. การเรียกใช้งาน Rails ลงในตู้ไฟฟ้า
4. การเรียกใช้งาน Duct ลงในตู้ไฟฟ้า
5. ประกอบชิ้นงานสามมิติด้วยคำสั่ง Standard Mate Feature
6. ประกอบชิ้นงานสามมิติด้วยคำสั่ง Advance Feature
7. วิธีการแปลงชิ้นงานจากโปรแกรม SolidWorks ให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสามมิติ
8. การเพิ่ม Auxiliary Contactor ลงในตู้ไฟฟ้า
9. ทำงานกับ Electrical 3D Component ได้รวดเร็วขึ้น ด้วยคำสั่ง Associate
10. การเรียกใช้งาน Door Component
11. การจัดการเตรียมพื้นที่ Door component เพื่อเตรียมอุปกรณ์
12. การจัดการพื้นที่ แผงสวิตซ์ควบคุมบนตู้ไฟฟ้า
13. ทดสอบความสัมพันธ์ของแบบ Schematic และ Electrical 3D ในโครงการ
14. การเตรียม Routing Path สำหรับการ 3D Wiring
15. เดินสายไฟในตู้แบบอัตโนมัติ ด้วย Route Wire Feature
16. แยกชุดสายไฟ Power และ Control ด้วย Segregation route wire
17. หาจำนวนสายใน Duct ด้วยคำสั่ง Duct fill ratio
18. การทำงานร่วมกับ Layout Plan ใน Assembly ของ SolidWorks
19. เชื่อมต่อข้อมูลของ Schematic เข้ากับ Elctrical 3D Component ด้วยคำสั่ง Associate
20. สร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เพื่อเตรียมเดินสาย Cable
21. การจัดการ Cable ที่ใช้ในโครงการ
22.Route Cable และจัดเตรียมเอกสารเพื่อปิดโครงการ
และทั้งหมดนี้คือความรู้ที่คุณจะได้จากบทเรียนที่ผมนำเสนอครับ
ดึงศักยภาพของตัวเองให้ถึงขีดสุด ด้วยการเรียนรู้และลงมือทำนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
สุรเชษฐ์ มังษะชาติ
Email: surachet@plant3dtutor.com