รายละเอียดคอร์ส
คอร์สนี้คุณจะได้เรียนรู้แนวคิดการดูแลและพัฒนาบุคคลากรด้วยโมเดล H.P.I. เพื่อช่วยให้การออกแบบการฝึกอบรมต่าง ๆ มีกระบวนการและกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริหาร
รายละเอียดคอร์สเรียน
ที่คุณพัฒนาพนักงานไป ไม่เห็นมันจะมีประโยชน์อะไร?!! ผมไม่เห็นว่าจะตอบโจทย์องค์กร!!!!
เอาล่ะสิ ถ้า CEO หรือเจ้าของกิจการพูดมาแบบนี้ งานเข้า HR ล่ะพี่น้อง!!!
หลักสูตรนี้ จะเป็นตัวช่วยให้คุณ HR หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาบุคคล สามารถตอบโจทย์ผู้บริหารได้ว่า การพัฒนาและฝึกอบรมที่จัดขึ้นมีการออกแบบอย่างมีกระบวนการและมีกลยุทธ์ และตอบโจทย์ได้อย่างคุ้มค่า
มาทำความเข้าใจกับโมเดล H.P.I. (Human Performance Improvement) จาก A.S.T.D. เพื่อให้เกิดการคิดเชิงออกแบบการพัฒนาพนักงานอย่างมีกลยุทธ์ ไม่ตกหลุมพรางที่เคยทำมาก่อน
เชื่อมโยงกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในงาน HRD เพื่อการออกแบบการพัฒนาพนักงานที่มีทิศทางที่ตอบโจทย์ผู้บริหาร ในขณะเดียวกันก็อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจพนักงาน สอดคล้องกับพฤติกรรมและความรู้สึกของพนักงาน และค้นพบแนวทางใหม่ ๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาพนักงานด้วยกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking) เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้
1. H.P.I. (Human Performance Improvement) จาก A.S.T.D. (American Society of Training and Development) เป็นโมเดลในการวางกลยุทธ์สำหรับการฝึกอบรมและกิจกรรมภายในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างไร?
2. Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบ) จากแนวทางของ Design School ของ Stanford University มีขั้นตอนอะไรกันบ้าง?
ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ
• ขั้นตอนที่ 1…Empathize ด้วยการสำรวจและเข้าใจผู้บริหารและพนักงาน อย่างลึกซึ้งถึงแก่น ไม่เพียงแค่พฤติกรรมการกระทำ แต่ลงลึกถึงความคิดและความรู้สึก รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ในเชิงจิตวิทยา
• ขั้นตอนที่ 2…Define นำสิ่งที่ค้นพบจากขั้นตอนที่หนึ่ง มาควานหา pain points เพื่อเจอความไม่สะดวก ไม่สบาย ไม่พอใจ ไม่ปลื้มใจ ไม่แล้วใจ ไม่สะใจ ไม่...ใจ แล้วจึงนิยามทิศทางและเป้าหมายในการคิดใหม่ทำใหม่จะได้เป็นการคิดที่ใช่ ที่แม่นยำ ที่ชัดเจน ไม่สะเป่ะสะป่ะเลอะเทอะ
• ขั้นตอนที่ 3…Ideate คิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นพบไอเดียใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์จากขั้นตอนที่สอง ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการคิดนอกกรอบก่อน แล้วจึงตามด้วยการคิดคร่อมกรอบ
• ขั้นตอนที่ 4…Prototype ด้วยการทำแบบจำลองของสิ่งที่ได้มาจากการคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เราคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง จะได้ปรับแต่งความคิดให้ปฏิบัติได้จริง
• ปิดท้ายด้วยขั้นตอนที่ 5…Test เพื่อทดสอบให้แน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าไอเดียที่คิดใหม่ ทำใหม่ได้จริง ดีจริง คุ้มจริง เป็นประโยชน์จริง ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้จริง ก่อนลงทุนสเกลใหญ่ หรือระบุลงไปใน work procedure ต่อไป