อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยศาสตร์ผู้ที่ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก เขาเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (General theory of relativity) และเป็นเจ้าของสมการที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่าง E=mc2 ในปี ค.ศ. 1921 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างให้กับโลกวิทยาศาสตร์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เริ่มเผยความเป็นอัจฉริยะในวัย 16 ปี แม้เป็นเพียงวัยรุ่น ไอน์สไตน์ก็ได้สร้างคุณประโยชน์แด่วงการฟิสิกส์ จากการเขียนเรียงความสั้นเรื่อง “On the Investigation of the State of the Ether in a Magnetic Field” ซึ่งเป็นจุดริเริ่มของความเก่งกาจของเขาในอนาคต แต่เพราะเหตุใดไอน์สไตน์ถึงเป็นอัจฉริยะ? ความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์มีมาตั้งแต่เกิดหรือไม่? คำตอบนี้อาจอยู่ในจดหมายที่เขาเขียนถึงลูกชายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี ค.ศ. 1915 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เขียนจดหมายจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ถึงลูกชายของเขา ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งขณะนั้นพักอาศัยอยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จดหมายของไอน์สไตน์สื่อถึงความคิดถึงต่อลูกชายของเขา แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่เขาเขียนว่า1
“พ่อดีใจมากที่ลูกมีความสุขในการเล่นเปียโน พ่อเชื่อว่าการเล่นเปียโนและการช่างไม้เป็นเรื่องที่ดีที่สุดของลูกในวัยนี้ ดีกว่าการเรียนในโรงเรียนเสียอีก เพราะสิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับลูกจริงๆ จงเล่นเปียโนที่ลูกชอบไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าคุณครูจะไม่ได้สั่งให้ลูกทำก็ตาม นี่เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ทำสิ่งที่ลูกชื่นชอบมากๆจนลืมไปเลยว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน ในบางครั้ง พ่องมอยู่กับการทำงาน จนลืมไปเลยว่าต้องทานข้าวเที่ยง”
ตรงข้ามกับที่หลายคนเชื่อกัน ไอน์สไตน์ในวัยแรกเกิดนั้น ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเด็กอัจฉริยะ เขามีปัญหากับการสื่อสาร และเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ จนคุณครูในวัยเด็กของเขาถึงกับเอ่ยว่าเขาคง “ไม่สามารถทำอะไรได้ในชีวิตนี้” แต่ไอน์สไตน์พบความสุขของตนเล่นกับโจทย์ปัญหา เขาชอบแก้ปัญหาเชาว์ ชอบก่อสร้างอะไรยากๆเช่น สร้างบ้านด้วยกองไพ่ และที่สำคัญที่สุดคือ เขาชอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เขาแก้โจทย์คณิตศาสตร์เป็นงานอดิเรก ตั้งแต่เล็ก เขาแก้โจทย์ไปเรื่อยๆจนความรู้เขาก้าวข้ามเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ในช่วงปิดเทอม คนก็นำหนังสือคณิตศาสตร์สำหรับชั้นสูงกว่ามาเรียนด้วยตัวเอง เรียนด้วยความสนุก จนสามารถหาข้อพิสูจน์ของทฤษฎีต่างๆได้ แถมยังคิดค้นทฤษฎีของตัวเองด้วย
นี่แหละ เคล็ดลับความฉลาดของไอน์สไตน์ “ทำสิ่งที่ตัวเองรัก” และทำไปเรื่อยๆเพื่อความสนุก โดยไม่ได้หวังผลอะไร จนท้ายที่สุดความสนุกนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นอัจฉริยภาพ
ใครอยากเก่งเหมือนไอน์สไตน์ รีบค้นหาสิ่งที่ตัวเองรักให้เจอ หมั่นฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และทำไปเรื่อยๆ ถึงแม้เราไม่อาจเปลี่ยนโลกเหมือนที่ไอน์สไตน์ทำได้ แต่เราอาจปลี่ยนโลกของตัวเองและคนรอบข้างได้เสมอ
ส่วนใครอยากอ่านจดหมายต้นฉบับของไอน์สไตน์ เชิญอ่านด้านล่างได้เลย
My dear Albert,
Yesterday I received your dear letter and was very happy with it. I was already afraid you wouldn’t write to me at all any more. You told me when I was in Zurich, that it is awkward for you when I come to Zurich. Therefore I think it is better if we get together in a different place, where nobody will interfere with our comfort. I will in any case urge that each year we spend a whole month together, so that you see that you have a father who is fond of you and who loves you. You can also learn many good and beautiful things from me, something another cannot as easily offer you. What I have achieved through such a lot of strenuous work shall not only be there for strangers but especially for my own boys. These days I have completed one of the most beautiful works of my life, when you are bigger, I will tell you about it.
I am very pleased that you find joy with the piano. This and carpentry are in my opinion for your age the best pursuits, better even than school. Because those are things which fit a young person such as you very well. Mainly play the things on the piano which please you, even if the teacher does not assign those. That is the way to learn the most, that when you are doing something with such enjoyment that you don’t notice that the time passes. I am sometimes so wrapped up in my work that I forget about the noon meal. Also play ringtoss with Tete. That teaches you agility. Also go to my friend Zangger sometimes. He is a dear man.
Be with Tete kissed by your
Papa.
---------------------------------------------
1 จดหมายจาก Posterity: Letters of Great Americans to Their Children